%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a12

การแพทย์แผนจีน(中医) คือ อะไร?

การแพทย์แผนจีน คือ ศาสตร์การแพทย์อีกแขนงหนึ่ง ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 5,000ปี เป็น การรวบรวมข้อมูลที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านปรัชญา ความเชื่อ แนวคิดในการดำรงชีวิต รวบรวมเป็นสถิติจน เกิดเป็นข้อพิสูจน์วิทยาศาสตร์ เป็นการแพทย์สาขาที่ใช้ธรรมชาติในการบำบัด รักษา และปกป้อง ฟื้นฟู ส่งเสริมร่างกายมนุษย์ ที่เป็นที่ยอมรับในสากลโลกแขนงหนึ่ง โดยใช้ทฤษฎีการฝังเข็มเส้นลมปราณ และ ยาสมุนไพร โดยมีแนวเชื่อเดิมว่า ” คนและดินฟ้าอากาศนั้นเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือปกป้องเกือกูลซึ่งกันและกัน ”

แนวคิดของแพทย์แผนจีน ร่างกายประกอบด้วยอวัยวะตันทั้ง ห้าเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับอวัยวะกลางและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทํางานพึ่งพาและควบคุมซึ่งกันและกันโดยอาศัยเลือดและลมปราณหล่อเลี้ยง ภายใต้การควบคุมดูแลของจิตใจ ร่างกายมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์แผน โบราณจีน เกิดจากการสรุปทฤษฎีด้านชีวิต ของร่างกายมนุษย์และกฎเกณฑ์การ เปลี่ยนแปลงของอาการโรครวมถึงทฤษฎี เกี่ยวกับหยินหยาง โหง๋วเฮ๊ง การเดินลมปราณ ลักษณะของอวัยวะส่วนต่างๆตลอดจน ทางเดินของเลือดลม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมี เนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค อาการโรค วิธีการวินิจฉัยโรค การแยกแยะวิเคราะห์ หลักการรักษาโรค การป้องกันโรคและการ บํารุงสุขภาพเป็นต้น ประกอบด้วยทฤษฏีที่ สําคัญต่อไปนี้

1. ทฤษฎีหยิน – หยาง “หยิน – หยาง เป็นฝ่ายตรงข้าม แต่พึ่งพาอาศัยกันควบคุมซึ่งกันและกัน ในหยินมีหยาง ในหยางมีอิน”

“ทุกสิ่งประกอบด้วยลมปราณที่มี การเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวแสดงออก 2 ด้าน ตรงข้ามกันเป็น หยินและหยาง”

ทฤษฏีหยิน -หยางเป็นปรัชญา โบราณของจีน เกิดจาก การสังเกตุ ปรากฎการณ์ในโลกที่ตรงกันข้ามจนได้ข้อสรุป เป็น ทฤษฏีหยินหยาง และอาศัยการปรับ สมดุลระหว่าง หยินกับหยางมาอธิบายการ เปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ด้าน การแพทย์ แผนโบราณของจีน ใช้หยินกับหยางมาอธิบาย ความสัมพันธ์ ทางกายวิภาค ของร่างกาย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์กับ สิ่งแวดล้อมและสังคม ดังนั้นเมื่อความสมดุล ระหว่างหยิน-หยางในร่างกายเปลี่ยนแปลง ก็ จะทําให้ร่างกาย เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น ทาง การแพทย์จึงใช้หลักความสมดุลระหว่าง หยิน- หยาง เป็นพื้นฐานของการรักษาความเจ็บป่วย ของร่างกายมนุษย์ ตัวอย่างของหยิน-หยาง หยาง หยิน กระตือรือร้น ซบเซา ก้าวหน้า ถดถอย แข็งแรง อ่อนแอ เคลื่อนไหว สงบนิ่ง ด้านนอก ด้านใน อบอุ่น, ร้อน หนาว, เย็น กลางวัน กลางคืน สว่าง มืด การทํางานของร่างกาย ร่างกายที่เป็นวัตถุ ทําหน้าที่มากขึ้น ทําหน้าที่ลดลง

2. ทฤษฎีปัญจธาตุ หรือ อากาศธาตุ หรือเรียกว่าปัญจธาตุทั้ง 5 และอากาศธาตุทั้ง 6 เป็น ทฤษฏีวิเคราะห์ ผลกระทบ ทางดารา ศาสตร์อุตุนิยมวิทยาและการเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพทําให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ของร่างกายมนุษย์ ปัญจธาตุทั้ง5 ได้แก่ ธาตุ ไม้ ไฟ ดิน ทองและน้ํา หมายถึงการหมุนเวียน ของฤดูกาล 5 ฤดูตลอดปี ในประเทศจีนได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ส่วนอากาศธาตุทั้ง 6 คือปัจจัย ดินฟ้าอากาศ 6 ชนิดตลอดทั้งปี ได้แก่ ลม หนาว ร้อน ชื้น แห้งและไฟ ทฤษฏีปัญจธาตุ หรืออากาศธาตุเป็นการใช้ข้อมูล ทางปฏิทิน ทางดาราศาสตร์มาคํานวนการเปลี่ยนแปลงของ ดินฟ้าอากาศและกฎเก ณฑ์การเป็นโรคภัยไข้ เจ็บ ในร่างกายมนุษย

คุณสมบัติพิเศษของธาตุแต่ละธาตุในปัญจธาตุมีรายละเอียดดังนี้

ธาตุไม้ หรือ ต้นไม้ หมายถึง การเจริญงอกงาม แผ่กระจาย

ธาตุไฟ หมายถึง ความร้อน การเคลื่อนไหวลอยขึ้นข้างบน

ธาตุดิน หมายถึง การเกื้อกูลกัน การให้กําเนิดและในโบราณถือว่าธาตุดิน จะเกื้อกูลธาตุอีก 4 ธาตุ ธาตุดินเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง

ธาตุโลหะหรือธาตุทอง หมายถึง ความสะอาด การเปลี่ยนแปลงไปมา ความเงียบสงัด

ธาตุน้ํา หมายถึง ความชุ่มฉ่ํา การไหลลงสู่ที่ต่ํา การเก็บสะสม

อวัยวะในร่างกาย ตามการแพทย์แผนจีนจะถูกกําหนดไว้แล้วว่า อวัยวะใดเป็นธาตุอะไรและเมื่อมีความผิดปกติ เกิดขึ้นก็จะมีอาการแสดงออกตามอวัยวะรับรู้ และเนื้อเยื่อของธาตุนั้น เช่น ตับเป็นธาตุไม้ เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะมีอาการ แสดงออกที่ตาและเอ็น เป็นต้น

3.ทฤษฎีอวัยวะภายใน แพทย์แผนจีนได้แบ่งอวัยวะ ภายในเป็นสามประเภท คือ

1.อวัยวะตัน มีลักษณะเป็นก้อน ตัน มีหน้าที่สร้างและเก็บสะสมสารจําเป็นและ ลมป ราณเป็นส่วนสําคัญต่อการดํารง ชีวิตประจําวัน เป็นแกนกลางในการทํางาน ของอวัยวะภายในประกอบด้วย – ตับ – หัวใจ (จ้าวแห่งเลือด จิตใจ จ้าวแห่งอวัยวะ ภายใน) – ม้าม (ต้นกําเนิดการขับเคลื่อนชีวิตจากฐาน ชีวิตหลังคลอด) – ปอด (จ้าวแห่งลมปราณ) – ไต (ต้นกําเนิดของชีวิตรากฐานชีวิตก่อน คลอด)

 

2.อวัยวะกลวง มีลักษณะเป็นท่อ กลวง ทําหน้าที่รับน้ําและอาหาร ย่อยดูดซึม อาหารและขับถ่ายของเสีย มี 6 ชนิด – ถุงน้ําดี – ลําไส้เล็ก – กระเพาะอาหาร – ลําไส้ใหญ่ – กระเพาะปัสสาวะ – ซานเจียว

 

3.อวัยวะกลวงพิเศษ มีลักษณะ เป็นท่อกลวงเหมือนอวัยวะกลวง แต่ทําหน้าที่ เก็บสะสมสารจําเป็นและลมปราณเหมือนกับ อวัยวะตัน มี6 ชนิด – สมอง – ไขสันหลัง – กระดูก – เส้นเลือด – ถุงน้ําดี – มดลูก

%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a12

นอกจากอวัยวะทั้งสามแบบที่ กล่าวมาแล้วแพทย์แผนจีนยังได้กล่าวถึงสาร จําเป็น ลมปราณ เลือดและของเหลวซึ่งเป็น องค์ประกอบที่สําคัญในร่างกายดังนี้

1.สารจําเป็น (จิง) หมายถึง วัตถุ พื้นฐานที่ช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการความสามารถในการสืบพันธุ์ในวัย หนุ่มสาวและการดําเนินชีวิตทุกประการเก็บ สะสมในไต ซึ่งรวมถึงเลือด ลมปราณ ของเหลวในร่างกาย สารอาหาร เป็นต้น หน้าที่ของจิงมีดังนี้ -ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของ ร่างกาย -ควบคุมพัฒนาการทางเพศและความสามารถ ในการสืบพันธุ์ -จิง สามารถเปลี่ยนไปเป็นเลือดและลมปราณ ได้ -เพิ่มภูมิต้านทานโรค

2.ลมปราณ (ชี่) เป็นส่วนประกอบ พื้นฐานของวัตถุทุกชนิดในโลกแห่งวัตถุ ลมปราณมาจากสิ่งแวดล้อม อาหารและ อากาศบริสุทธิ์ โ ดยสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตจะต้องมี ลมปราณเป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิต ชี่จะ สร้างจากไต ในช่วงก่อนคลอด ส่วนช่วงหลัง คลอดสร้างมาจากม้าม กระเพาะอาหารและ ปอด ลมปราณมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1.สร้างแรงกระตุ้นและขับดันร่างกายให้ เจริญเติบโต 2.สร้างความอบอุ่น 3.ปกป้องและรักษาร่างกาย 4.เป็นแรงควบคุมเหนี่ยวรั้งเลือดและ ของเหลวในร่างกาย 5.ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของวัตถุพื้นฐาน ของร่างกาย

3.เลือด ของเหลวสีแดงอยู่ในเส้น เลือด ทําหน้าที่หล่อเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อ ต่างๆ ทั่วร่างกายให้ทํางานปกติจิตใจแจ่มใส สร้างจากม้ามและสารจําเป็นที่ไตโดยตับทํา หน้าที่เก็บสะสมเลือด

4.ของเหลวในร่างกาย (จินเย่) ประกอบด้วยของเหลวสองชนิดคือ 4.1 จิน คือของเหลวใสไหล ไปมา มีหน้าที่แทรกซึมหล่อเลี้ยงผิวหนัง กล้ามเนื้อ ช่องเปิดต่างๆในร่างกาย 4.2 เย่คือของเหลวเหนียว ข้นมีหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อ ไขกระดูก สมอง อวัยวะภายใน

บรรณานุกรม 1. โกวิท คัมภีรภาพ. ทฤษฎีพื้นฐานการแพทย์ แผนจีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นิว ไวเต็กจ ากัด, 2544. 2. โกวิท คัมภีรภาพ. การตรวจวินิจฉัยทาง การแพทย์แผนจีน . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา , 2549. 3. ลือชา วนรัตน์, ทัศนีย์ฮาซาไนน์, เย็นจิตร เตชะด ารงสิน (บรรณาธิการ). การฝังเข็ม รม ยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ส านักงาน กิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระ บรมราชูปถัมภ์, 2551. 3. Fu WK, Li JW, Lin ZG. A General History of Chinese Medicine. 1st ed. Beijing:People’s Medical Publishing House, 2000. 4. Meng H. Traditional Chinese Medicine: English-Chinese and Chinese-English Coursebased Medical Dictionary. 1st ed. Xi’an: Shijie Tushu Publishing Co., 1998. 5. Wu CG. Basic Theory of Traditional Chinese Medicine: A Newly Compiled Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese Medicine. 4th ed. Shanghai: Shanghai Xinhua Publishing Works, 2006. Vol.6 No.1 January – April 2013 Journal of Bureau of Alternative Medicine 6. Zhang E. Basic Theory of Traditional Chinese Medicine I: A Practical EnglishChinese Library of Traditional Chinese Medicine. Vol. I. 9th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999. 7. Zhang E. Diagnostics of Traditional Chinese Medicine I: A Practical EnglishChinese Library of Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1990.