โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ได้รับการขนานนามว่า “เพชฌฆาตเงียบ” เนื่องจาก มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต

หากไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ
การที่หัวใจต้องรับภาระหนักกว่าปกติ นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหลายประการ อาทิ กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หัวใจวาย
ไตได้รับความเสียหาย
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ดำเนินไปอย่างเงียบเชียบ โดยไม่มีสัญญาณบ่งชี้ใดๆ

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน
โรคความดันโลหิตสูง

แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการหลักๆ คือ

1.หยางของตับมากเกิน    เสมหะคั่ง
2.หยินของตับและไตพร่อง
3.หยางของตับมากเกิน
จะแสดงอาการ ดังต่อไปนี้
เวียนศีรษะ หน้าแดง ตาแดง
โกรธบ่อย อารมณ์ฉุนเฉียว
นอนไม่หลับ ฝันมาก
ปากขม คอแห้ง
ลิ้นแดง ฝ้าสีเหลือง
ชีพจรตึงมีแรง

เสมหะคั่ง
จะแสดงอาการ ดังต่อไปนี้

เวียนศีรษะ หนักหัว
มึนหัวตาลาย แน่นหน้าอก
ลิ้นแดง ฝ้าขาวหนา
ชีพจรตึงลื่น

หยินของตับและไตพร่อง
จะแสดงอาการ ดังต่อไปนี้

เวียนศีรษะ หูผิดปกติ มีเสียงวี๊ดในหู
ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
ขี้หลงขี้ลืม นอนไม่หลับ
เหนื่อยง่าย ปากแห้ง
ปวดเอวปวดเข่า ไม่มีแรง
ลิ้นแดงซีด ฝ้าลิ้นบาง
ชีพจรตึงเล็ก ไม่มีแรง

วิธีกดจุดรักษาเบื้องต้น
จุดเฉียวกง
จุดอิ้นถาง
จุดไท่หยาง
จุดไป๋ฮุ่ย
จุดเฟิงฉือ
จุดชวีฉือ
จุดเจี่ยวซุน

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน

อาจเกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้ เช่น รู้สึกหน้ามืดหรือเป็นลมเวลาลุกจากเก้าอี้หรือลุกจากเตียง ดังนั้น ควรลุกอย่างช้า ๆ หากยังมีอาการข้างเคียงมากควรพบแพทย์หรือปรับขนาดยาหรือเปลี่ยนยาชนิดอื่น

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

สามารถลดความดันเลือดได้โดยไม่ต้องใช้ยา

1. ควบคุมน้ำหนัก
ถ้าน้ำหนักลง 10 กิโลกรัม
สามารถลดแรงดันช่วงบนลงได้ 6.3 mmHg
และความดันช่วงล่างลงได้ 3.1 mmHg

2. ลดการกินเกลือ
ลดการกินเกลือลงไป 3 กรัมต่อวัน
จะลดแรงดันเลือดช่วงบนลง 7 mmHg
และความดันช่วงล่างลง 3.5 mmHg

3. งดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

4. ออกกำลังกาย

การรักษาโดยการกินยาแผนปัจจุบัน ช่วยลดแรงดันได้ผลเร็วก็จริง แต่ผลข้างเคียงมีมากมาย เช่น หน้ามืด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง  ซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

IMG_5431

แพทย์จีน ธนินท์ธร อนันต์สรรักษ์(หมอออม)
[แพทย์แผนจีน-ฝังเข็ม-ยาสมุนไพร-โภชนาการ-รักษาโรค-ความงาม-ครอบแก้ว-กวาซา]
คณะแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทย์จีนแห่งปักกิ่ง
Thaninthorn Anuntsororak.,CMD
Beijing University of Chinese Medicine