แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
– โรคนิ้วล็อคแต่กำเนิด ผู้ป่วยจะมีอาการช่วง 3 เดือน – 1 ปี จะเกิดที่นิ้วหัวแม่มือมากกว่านิ้วอื่น รักษาด้วย
  การยืด ดัด ดาม
– โรคนิ้วล็อคในผู้ใหญ่ มักพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุมาจากการกำมือ หรืองอนิ้วบ่อย มักเกิดกับ
   มือข้างที่ถนัด นิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วโป้ง นิ้วกลาง นิ้วนาง จะติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก โดยเฉพาะตอนเช้า
   หลังตื่นนอนจะปวดมาก

 แบ่งได้ 4 ระยะ
 ระยะ 1     จะปวดโคนนิ้วมือ ถ้ากดบริเวณฐานนิ้วมือจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ไม่มีอาการสะดุด
                  เวลาขยับนิ้ว
 ระยะ 2     มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว เหยียดนิ้ว
 ระยะ 3     เมื่องอนิ้วจะมีอาการติด ล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้เอง ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วย
 ระยะ 4     มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วตรงได้ เวลากำมือนิ้วจะงอไม่ลง

 บุคคลที่มีความเสี่ยง
1. คนที่ต้องทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เช่น แม่บ้าน พนักงานออฟฟิศ คนทำอาหาร เป็นต้น
2. คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน รูมาตอยด์ เก๊าท์
3. ผู้สูงอายุ เนื่องจากใช้งานสะสมมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น

สาเหตุการเกิดนิ้วล็อคในแพทย์จีน
 เกิดจากการใช้งานเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ หรือข้อมือหักโหม ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เมื่อมีความเย็น ความชื้นมากระทบเส้นเอ็นและกล้ามเนิ้อ เส้นลมปราณถูกอุดกั้น ทำให้เลือด ลมปราณติดขัด ไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อได้ ทำให้เกิดการตึงตัวและเจ็บ



การรักษา
1. ฝังเข็ม จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นดีขึ้น ลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยจะฝังเช็มบริเวณที่มี
   อาการปวด

2. การนวดกดจุด – ต้าหลิง   อยู่บริเวณกึ่งกลางข้อมือ
                               เหลากง  กำนิ้วกลางลงมา จะอยู่บริเวณปลายนิ้วกลาง
                               เหอกู่      เอานิ้วโป้งทาบบริเวณง่ามนิ้ว จะอยู่ปลายนิ้วโป้ง
                               หยวีจี้      กึ่งกลางขอบมือฝั่งนิ้วโป้ง
                               เส้าฝู่       กำนิ้วก้อยลงมา จะอยู่ปลายนิ้วก้อยพอดี
                               โฮ่วซี     รอยย่นตรงโคนนิ้วก้อย
                               ถูนิ้วมือทุกนิ้ว 10-20 ครั้ง

3. ครอบแก้ว ครอบบริเวณแขน และฝ่ามือ เป็นการผ่อนคลายอาการตึงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่แขน
   และฝ่ามือ

การดูแลรักษา
1. ไม่ยกของหนัก
2. หลีกเลี่ยงงานที่มีแรงสั่นสะเทือน
3. งานที่ทำต่อเนื่องเป็นเวลานานๆควรพักมือเป็นระยะ
4. แช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที

เป็นแล้วสามารถรักษาหายขาดมั้ย
ถ้าเป็นระยะที่1-2 แล้วมาทำการรักษา ร่วมกับการดูแลรักษามือ ก็มีโอกาสหายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นระยะที่ 3-4 เป็นระยะเวลานานอาจเป็นเรื้อรังรักษาไม่หาย


เพิ่มเพื่อน