ในมุมมองของแพทย์จีน ร้อนกับไฟ จัดเป็นความร้อนทั้งคู่ แค่ระดับต่างกัน ร้อนสุดกลายเป็นไฟ ดังนั้นอาการของทั้งคู่แทบจะแยกไม่ออก และแนวทางการรักษาก็เป็นไปในทางเดียวกันด้วย
ความร้อน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ความร้อนในฤดูร้อน อวัยวะภายในอ่อนแอ อารมณ์ที่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
- โดยธรรมชาติของไฟ มีทิศการโหมขึ้นสู่ด้านบน ดังนั้น อาการที่แสดงออกให้เห็นชัดเจน จะอยู่ที่ด้านบน เช่น หน้าแดง ตาปวดบวมแดง ปากขม ปวดหัว เวียนหัว และไปรบกวนอวัยวะที่อยู่ด้านบน เช่น หัวใจ เกิดเป็นภาวะขี้หงุดงิด กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ เป็นต้น
- อาการขาดน้ำ ที่เกิดจากไฟไปเผาผลาญสารน้ำ เช่น ปากเเห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็น
- เมื่อความร้อนสะสมภายใน ทำให้เกิดภาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น เช่น ผิวหนังอักเสบและคัน สิวบวมแดงอักเสบ กล้ามเนื้อและข้ออักเสบ
ยังมีอาการอีกมากมายที่เกิดจากความร้อน และยิ้งถ้าความร้อนแฝงมากับความชื้น อาการก็จะเรื้อรังมากขึ้น
พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง เมื่อพบว่าร่างกายมีความร้อนสะสม
- อาหารฤทธิ์ร้อน รสจัด ของทอดของมัน อาหารย่อยยาก
- ปรับอารมณ์สม่ำเสมอ ให้พึ่งระวัง 3 อารมณ์ คือ อารมณ์ดีใจ อารมณ์โกรธ ความเครียด
- ไม่ควรออกกำลังกายใช้พลังงานเยอะ กลางแดด
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ปรับพฤติกรรมเรื่องการขับถ่าย
- อาหารที่เหมาะกับระบายไฟ และบำรุงหัวใจ คือ อาหารสีแดง และอาหารรสขมฤทธิ์เย็น
พจ.ณัฐชญา กิจจ์ศิริสุนทร